วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วิตามินข่าว ภัยอินเตอร์เน็ต


วิตามินข่าว ภัยอินเตอร์เน็ต 






            ทุกคนคงปฏิเสธไม่ได้ว่างสิ่งใดก็ตามที่ได้คุณประโยชน์ก็ย่อมจะมีโทษในตัวมันเอง สังคมมนุษย์ก็เช่นกันย่อมมีทั้งคนดีและคนเลวปะปนกันไป อินเตอร์เน็ตถือได้ว่าเป็นสังคมมนุษย์หนึ่งเนื่องจากเกิดขึ้นจากความพยายามที่จะติดต่อสื่อสารกันของมนุษย์โดยอาสัยเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตเป็นื่อกลางแทนที่จะเป็นคำพูด ท่าทาง ฯลฯ แต่อินเตอร์เน็ตเป็นสังคมของคนทั้งโลกที่ไร้พรมแดน (Globalization) ไม่แบ่งชั้นวรรณะย่อมเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องมีสิ่งไม่ดีสิ่งที่เป็นภัยแอบแฝงอยู่มาก รวมทั้งคนเลวซึ่งได้แก่บรรดามิจฉาชีพ อาชญากรรม (แบบไฮเทคได้อาศัยอินเตอร์เน็ตเป็นที่แฝงตัวและหากินบนความทุกข์ของผู้อื่น ขอเสนอมุมมองเรื่องราวของอินเตอร์เน็ตในแง่ลบเพื่อเป็นอุทธาหรณ์สำหรับผู้เล่นเน็ตอยู่จะได้ระแวดระวังและไม่ตกเป็นเหยื่อของโจรไฮเทคเหล่านี้




 


            หลายคนคงทราบว่าในอินเตอร์เน็ตมีสิ่งยั่วยุทางกามารมณ์ที่ส่อไปในทางลามกอนาจารอยู่มาก ถึงแม้จะไม่มีผลเสียที่เกี่ยวข้องกับเราโดยตรง แต่ก็มีผลทางอ้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็ก ๆ ที่เป็นลูกหลานของเรา ต้องยอมรับว่ากว่า 50% ของผู้ชายที่เริ่มใช้อินเตอร์เน็ตในครั้งแรกๆ มักจะไปท่องหาเว็บไซต์ที่มีภาพนู้ด ภาพโป้ต่างๆ ซึ่งถ้าเป็นการใช้เครื่องที่บ้านที่มีลุกหลานกำลังเรียนรู้และพัฒนาทางด้านคอมพิวเตอร์ ก็อาจจะไปเข้าเว็บไซต์เหล่านั้นโดยไม่รู้ตัว เพราะซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ใช้ในการท่องเว็บจะมีการเก็บบันทึกหมายเลขที่อยู่ของเว็บไซต์ (URL-address) เพื่อความสะดวกในการเข้าสู่เว็บไซต์นั้นในครั้งต่อไป ซึ่งหมายเลยที่อยู่นี้สามารถถูกเรียกกลับขึ้นมาใช้ได้ง่าย เด็กๆ อาจจะเผลอไปเรียกเข้าก็จะเข้าสู่เว็บไซต์นั้นได้ทันที และอาจจะกลับไปดูซ้ำในครั้งต่อๆ ไป หากผู้ปกครองละเลยนานๆ เข้าภาพเหล่านี้จะถูกปลูกฝังในความคิด ทำให้เด็กอาจมีพฤติกรรมการแดสงออกทางเพศกับเพศตรงข้ามที่ส่อไปในทางที่ผิดและอาจเลยไปถึงกระทำความผิดอาญาได้เมื่อโตขึ้น ภัยประเภทนี้ผลเสียจึงเกิดขึ้นในทางอ้อมโดยจะตกอยู่กับเด็กซึ่งเป็นลูกหลานและครอบครัว


            

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

อันตรายจากการใช้อินเตอร์เน็ต!!

การใช้ social network อย่างปลอดภัย


การใช้ social network อย่างปลอดภัย





ภัยจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีจากหลากหลายวิธีการ เช่น
- การค้าง  username และ password ไว้ที่เครื่องตลอดเวลา อาจทำให้ถูกขโมยข้อมูลได้ง่าย
- Virus ซึ่งเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลาและมีหลายรูปแบบ
- Spyware ซึ่งมีทั้ง แบบดี เช่น  google  ใช้เพื่อเก็บข้อมูลในการใช้งานรูปแบบต่างๆ  และ แบบไม่ดี เช่น การแฝงเข้ามาในโปรแกรมเพื่อขโมย user และ password
Spam Mail  การใช้ตัวกรองได้ผลประมาณ 80-90%  ส่วนประมาณ 10% เกิดขึ้นจากการที่ไม่ได้ logout ออกจากระบบแต่ใช้การปิดหน้าจอออกเลย
- Malware หมายถึง ซอฟท์แวร์ที่เป็นอันตรายต่อคอมพิวเตอร์ เช่น ใน google จะแจ้งว่า “ไซต์นี้อาจเป็นอันตรายต่อคอมพิวเตอร์ของคุณ”  มักจะเกิดกับซอฟ์แวร์ที่ไม่มีการทดสอบความปลอดภัยก่อนนำมาใช้งาน
- Phishing mail การส่งเมล์หลอกลวงในรูปแบบต่างๆ โดยการใช้จุดอ่อนของมนุษย์ คือ ความโลภ ความเห็นใจสงสาร เช่น การแจ้งถูกรางวัลจากหน่วยงาน ต่างๆ หรือการแจ้งว่าคนรู้จักกำลังลำบากอยู่ในที่ต่างๆ เป็นต้น
จุดสังเกต-ให้ดูที่โดเมนซึ่งควรเป็นของหน่วยงานนั้นๆ โดยเฉพาะ
การป้องกันภัยจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในเบื้องต้น- ใช้ Anti-virus Utility
- ใช้ Anti-Spyware Utility
- ใช้ Firewall Application
- ใช้ Regularly update OS & Applications  เป็น Service  ที่มากับ  OS ต่างๆ


การรักษาความปลอดภัยขั้นต้นบน  Social Network (Facebook, Twitter)
- การตั้งค่าบัญชีผู้ใช้ (General Account Settings)
- การตั้งระบบความเป็นส่วนตัว (Privacy Settings)
อีกทั้งยังได้ข้อคิดเพิ่มมาอีกว่า ความปลอดภัยและความสะดวกสบายมักจะสวนทางกัน ถ้าต้องการความปลอดภัยก็ต้องเสียเวลาตั้งค่าและจัดการระบบตามที่ social network แต่ละค่ายตั้งขึ้นมา  แต่ถ้าต้องการความสะดวกสบายมากกว่าความปลอดภัยก็จะลดลงไปด้วย  อีก
อย่างที่ทุกคนมักจะลืมคือ ไม่ log out แต่ปิดหน้าจอเลย เป็นการเปิดโอกาสให้ถูกขโมยข้อมูลได้ง่ายอีกทางหนึ่งเช่นกัน

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556


ภาษาซีพลัสพลัส



ภาษาซีพลัสพลัส (อังกฤษC++) เป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์อเนกประสงค์ มีโครงสร้างภาษาที่มีการจัดชนิดข้อมูลแบบสแตติก (statically typed) และสนับสนุนรูปแบบการเขียนโปรแกรมที่หลากหลาย (multi-paradigm language) ได้แก่ การโปรแกรมเชิงกระบวนคำสั่งการนิยามข้อมูลการโปรแกรมเชิงวัตถุ, และการโปรแกรมแบบเจเนริก (generic programming) ภาษาซีพลัสพลัสเป็นภาษาโปรแกรมเชิงพาณิชย์ที่นิยมมากภาษาหนึ่งนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990
เบียเนอ สเดราสดร็อบ (Bjarne Stroustrup) จากเบลล์แล็บส์ (Bell Labs) เป็นผู้พัฒนาภาษาซีพลัสพลัส (เดิมใช้ชื่อ "C with classes") ในปี ค.ศ. 1983 เพื่อพัฒนาภาษาซีดั้งเดิม สิ่งที่พัฒนาขึ้นเพิ่มเติมนั้นเริ่มจากการเพิ่มเติมการสร้างคลาสจากนั้นก็เพิ่มคุณสมบัติต่างๆ ตามมา ได้แก่ เวอร์ชวลฟังก์ชัน การโอเวอร์โหลดโอเปอเรเตอร์ การสืบทอดหลายสาย เทมเพลต และการจัดการเอกเซพชันมาตรฐานของภาษาซีพลัสพลัสได้รับการรับรองในปี ค.ศ. 1998 เป็นมาตรฐาน ISO/IEC 14882:1998 เวอร์ชันล่าสุดคือเวอร์ชันในปี ค.ศ. 2003 ซึ่งเป็นมาตรฐาน ISO/IEC 14882:2003 ในปัจจุบันมาตรฐานของภาษาในเวอร์ชันใหม่ (รู้จักกันในชื่อ C++0x) กำลังอยู่ในขั้นพัฒนา

รูปแบบของการออกแบบภาษาซีพลัสพลัส



ภาษาซีพลัสพลัสได้ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นภาษาสำหรับการเขียนโปรแกรมทั่วไป สามารถรองรับการเขียนโปรแกรมในระดับภาษาเครื่องได้ เช่นเดียวกับภาษาซี

  • ในทางทฤษฎี ภาษาซีพลัสพลัสควรจะมีความเร็วเทียบเท่าภาษาซี แต่ในการเขียนโปรแกรมจริงนั้น ภาษาซีพลัสพลัสเป็นภาษาที่มีการเปิดกว้างให้โปรแกรมเมอร์เลือกรูปแบบการเขียนโปรแกรม ซึ่งทำให้มีแนวโน้มที่โปรแกรมเมอร์อาจใช้รูปแบบที่ไม่เหมาะสม ทำให้โปรแกรมที่เขียนมีประสิทธิภาพต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และภาษาซีพลัสพลัสนั้นเป็นภาษาที่มีความซับซ้อนมากกว่าภาษาซี จึงทำให้มีโอกาสเกิดบั๊กขณะคอมไพล์มากกว่า
  • ภาษาซีพลัสพลัสได้รับการออกแบบเพื่อเข้ากันได้กับภาษาซีในเกือบทุกกรณี (ดูเพิ่มเติมที่ Compatibility of C and C++)
  • มาตรฐานของภาษาซีพลัสพลัส ถูกออกแบบมาเพื่อไม่ให้มีการเจาะจงแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์
  • ภาษาซีพลัสพลัสถูกออกแบบมาให้รองรับรูปแบบการเขัยนโปรแกรมที่หลากหลาย (multi-paradigm